ค้นหาภายในเวปของเรา

Saturday, March 10, 2012

ไปปีนังกันเถอะ..ตอน3 ป้อมปืนฟอร์ต วัดจีนแห่งถนนคิงส์

เที่ยวไปกับนังตัวดีตอน...ไปปีนังกันเถอะ (3)


อรุณสวัสดิ์เช้าวันใหม่ ทริปปีนังของเรายังไม่จบนะคะ วันนี้เราจะมาต่อกันที่ ป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส (Fort Conrwallisป้อมปราการที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย Saint George's Church วัดจีนแห่งถนนคิงส์  คูกงสี  วัดศรีมาเรียมมัน (วัดฮินดู) กันค่ะ 


ป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิสFort Cornwallisเป็นสถานที่ยกพลขึ้นบกครั้งแรกของฟรานซิส ไลท์ ผู้ที่เปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์ของเมืองปีนัง หลังจากที่เลือกจะสร้างเกาะปีนังเป็นเมืองท่าแล้ว เขาได้สร้างป้อมปืนป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส ( Fort Cornwallis ) แห่งนี้ เพื่อป้องกันเมือง โดยเดิมสร้างด้วยไม้ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นคอนกรีต แล้ววางปืนครกเรียงราย โดยหันหน้าออกสู่ทะเล

ตำแหน่งของ พิกัด GPS ของ ป้อมปืน ฟอร์ต คอร์นวอลลิส คือ N05.419960, E100.343242 ค่ะ




ถนนรอบๆป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส

 ประตูทางเข้าป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส ( Fort Cornwallis )

ตั๋วผ่านประตูป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส ( Fort Cornwallis )
 ราคาคนละ 2 ริงกิต หรือ ประมาณ 20 บาท ค่ะ




Captain Francis Light  ผู้บุกเบิกพัฒนาเกาะหมาก ป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส

ป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส ( Fort Cornwallis ) เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เรื่องมีอยู่ว่ามีพ่อค้า และนักผจญภัยชาวอังกฤษ ชื่อว่า เซอร์ ฟรานซิส ไลท์ (Sir Francis Light) เดินทางมาถึงเกาะปีนังเมื่อปี ค.ศ.1786  พอมาถึงแล้วก็ไปเจรจากับสุลต่านรัฐเคดะห์ ขอเช่าเกาะปีนังเพื่อทำเป็นสถานีการค้า และที่พักเรือของบริษัทบริติชอีสท์อินเดีย (British East India company) เอาไว้ใช้เดินทางติดต่อค้าขายกับประเทศจีน และเป็นฐานในการหาผลประโยชน์ทางการค้าในกับอังกฤษในภูมิภาคแถบนี้ แลกกับการคุ้มครองไม่ให้รัฐเคดะห์ถูกรุกรานจากสยาม (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) พอทำข้อตกลงกับรัฐเคดะห์เรียบร้อยแล้ว เซอร์ ฟรานซิส ไลท์ ก็ยกพลขึ้นบกบริเวณที่ตั้งของศาลาว่าการเมือง (City Hall) ในปัจจุบัน ตั้งชื่อเกาะว่า Prince of Wales Island 




ปืนศรี แรมไบ (Sri Rambai Cannon) ณ ป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส


มีเรื่องเล่าว่า บริเวณที่เซอร์ฟรานซิส ไลท์ ยกพลขึ้นบกเป็นป่ารกทึบ ลูกเรือที่มาด้วยไม่มีใครอยากถางป่า เซอร์ฟรานซิสฯ ก็เลยเอาเหรียญเงินยัดใส่ปากกระบอกปืนใหญ่ ก่อนจะหันปากกระบอกป่าไปที่ป่า.. แล้วยิงออกไป..ตูม.. ทำให้เหรียญเงินกระจัดกระจายทั่วพื้นที่ เซอร์ฟรานซิสฯ ประกาศว่า ถ้าใครอยากได้เหรียญเงิน ก็เข้าไปเอาในป่าได้เลย เท่านั้นละ บรรดาลูกเรือทั้งหลายต่างก็เฮโลเข้าไปถางป่าค้นหาเหรียญเงินกันจ้าละหวั่น  ป่าที่เคยรกทึบ ก็ถูกถางจนโล่งเตียน ด้วยความโลภของลูกเรือ

ป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส ( Fort Cornwallis )

เกาะปีนังเป็นท่าเรือเสรี ไม่เก็บภาษีการค้า พ่อค้าจากเมืองต่างๆ ก็เลยหลั่งไหลมาค้าขาย มาตั้งถิ่นฐาน ทั้งพ่อค้าชาวจีน อินเดีย และชวา ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเมือง ซึ่งต่อมาถูกตั้งชื่อว่า เมืองจอร์จทาวน์” (George Town) ตามพระนามของสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษ

ปีค.ศ.1832 ดินแดนปีนังทั้งหมดถูกรวมเป็นอาณานิคมของอังกฤษ พร้อมกับเมืองมะละกาและสิงคโปร์ ปีนังเป็นศูนย์การค้าเครื่องเทศ เครื่องกระเบื้อง ชา และผ้า อยู่ใต้การปกครองของอังกฤษนานร้อยกว่าปี จนมาเลเซียประกาศอิสรภาพในปีค.ศ.1957 และยกฐานะเป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซียในปีค.ศ.1963



ป้อมปืนฟอร์ต คอร์นวอลลิส เป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ที่มีประวัติของเมืองปีนังอยู่อย่างละเอียด ซากโบราณวัตถุถูกดูแลและบูรณะเป็นอย่างดี  แต่มีข้อเสียข้อเดียวคือร้อน เพราะมันคือกลางแจ้ง รวมทั้งปีนังคือเมืองที่นับว่าร้อนมาก ร้อนชื้น เพราะใกล้เส้นศูนย์สูตรค่ะ



  

 อังกฤษต้องการเครื่องเทศจากมลายู



โบสถ์เเซนต์จอร์จ (St George’s Church) โบสถ์แห่งนี้ เป็นโบสถ์คริสต์นิกายแองกลิลัน ที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างขึ้นในปี 1818 โดยใช้แรงงานนักโทษ เป็นโบสถ์ที่สง่างาม โดดเด่นที่สุดบนเกาะปีนัง

โดย โบสถ์แซนต์จอร์จ ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่งพิกัดตาม GPS ดังนี้ค่ะ N05.419832, E100.339122

โบสถ์เซนต์จอร์จ (St George’s Churchปีนัง

โบสถ์เซนต์จอร์จ (St George’s Churchปีนัง
"วัดจีนแห่งถนนคิงส์" ( King Street Temples ) ถนนคิงส์เป็นถนนสายหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของชุมชนชาวจีนที่ตั้งถิ่นฐานในปีนัง ในช่วงศตวรรษที่ 18 "วัดเต๋าเป็กกง" เป็นวัดเล็กๆ ที่มีความโดดเด่นบนถนนสายนี้ ตัววัดทาสีแดงสดตัดกับอาคารห้องแถวอื่นๆ ที่อยู่ติดกัน สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมภายในวัด แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนของชาวจีนกวางตุ้ง และสิ่งหนึ่งที่โดดเด่นของวัดนี้ คือ ด้านหน้าวัดจะมีการจุดธูปดอกใหญ่ ที่จุดบูชาเทพเจ้าแห่งความร่ำรวยด้วยค่ะ แต่เราตัดออกไปจากทริปค่ะ เนื่องจากเสียเวลาไปกับการหลบแดด (แดดร้อนมากค่ะ) คนที่มาเพื่อถ่ายรูปคงยิ้มชอบเลย แต่ ทางเราไม่ไหวจริงๆค่ะ

วัดจีนอีกวัดที่จะแนะนำคือ "วัดเจ้าแม่กวนอิม" ค่ะ (Goddess Of Mercy Temple) เป็นวัดเล็กๆแต่เป็นวัดสำคัญของคนจีนในปีนังค่ะ จุดที่อยากให้สังเกตุอีกนิด ซึ่งหาดูเมืองไทยอยากมากคือ ธูป เขาใหญ่มาก และที่นี้มักจะไหว้โดยใช้ธูปไม่ใช้เทียนค่ะ

ตำแหน่ง พิกัด GPS ของ "วัดเจ้าแม่กวนอิม" ค่ะ N05.418630, E100.338644
ส่วนร้านโล่วหมี่ ตามรูปด้านล่าง อร่อยใช้ได้ค่ะ
ถ้าอยากลองทานก็ตามพิกัด GPS นี้นะค่ะ N05.418561, E100.338521

"วัดเจ้าแม่กวนอิม" (Goddess Of Mercy Temple) ปีนัง

"วัดเจ้าแม่กวนอิม" (Goddess Of Mercy Temple) ปีนัง

แวะทาน "โล่วหมี่" อาหารแนะนำ ร้านอยู่ข้างวัด รสชาติคล้ายๆก๋วยจั๊บน้ำข้นบ้านเราค่ะ

บรรยากาศรอบๆ "วัดเจ้าแม่กวนอิม" (Goddess Of Mercy Temple) ปีนัง

บรรยากาศรอบๆ "วัดเจ้าแม่กวนอิม" (Goddess Of Mercy Temple) ปีนัง

คู กงสี เป็นศาลเจ้าและที่เก็บป้ายวิญญาณบรรชนของคนแซ่คูครับ ตั้งอยู่ที่ ถนน Cannon, ปีนังโดยเปิดให้เข้าชมได้ทุกวันตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงห้าโมงเย็นบ้านของตระกูล Khoo Kongsi ถือว่าเป็นบ้านที่โอ่โถงและหรูหราที่สุดบนเกาะแห่งนี้ต้นตระกูล Khoo อพยพมาจากประเทศจีนตอนใต้และได้สร้างบ้านหลังนี้ขึ้นเพื่อเป็นบ้านประจำตระกูล Khoo เริ่มก่อสร้างราวปี 1898 ตัวอาคารมีความสง่างามมาก

โดย คู กงสี อยู่ตามพิกัด GPS นี้ค่ะ N05.414993, E100.337405


คู กงสี ปีนัง

คู กงสี ปีนัง

วัดศรีมาเรียมมัน (Sri Mariamman Temple) วัดฮินดูแห่งนี้สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1883 เป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าสุบรามาเนียมซึ่งประดับตกแต่งด้วยอัญมณีล้ำค่าทั้งทอง เงิน เพชร และมรกต จะได้รับอัญเชิญในขบวนแห่เทศกาลไทปูสัม (Tipusum) ที่จัดในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยจะมีร่างทรงใช้เหล็กแหลมเสียบผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย แล้วแห่ไปตามถนนในเมืองจอร์จทาวน์ บริเวณรอบวัดศรีมาเรียมมันคือย่าน “ลิตเติ้ลอินเดีย” (Little India) ชุมชนชาวอินเดียที่เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่ยุคการปกครองของอังกฤษ มีบรรยากาศแบบเมืองแขกแทรกซึมอยู่ทั่วอาณาบริเวณเช่นเดียวกับย่านชาวอินเดียในทุกแห่งหน


วัดศรีมาเรียมมัน อยู่ตามพิกัด GPS ตามนี้ค่ะ N05.416996, E100.338258

วัดศรีมาเรียมมัน (Sri Mariamman Temple) วัดฮินดูในปีนัง




เรื่องราวที่ท่องเที่ยวในปีนัง
ไปปีนังกันเถอะ..ตอน4 สะพานปีนัง ตลาดโต้รุ่ง
ไปปีนังกันเถอะ..ตอน2 วัดไทย ไชน่าทาวน์
ไปปีนังกันเถอะ..ตอน1 Kek Lok Si ปีนังฮิลล์

No comments:

Post a Comment